SYNINDUSTRY บรรจุภัณฑ์: บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย

บริษัทเอส.วาย.เอ็น อินดัสตรี จำกัด

บริษัทเอส.วาย.เอ็น อินดัสตรี จำกัด

บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย

เขาว่ากันว่าบรรจุภัณฑ์ชานอ้อยดีกว่าโฟม




ระหว่างบรรจุภัณฑ์ชานอ้อยกับโฟม คุณคุ้นหน้าเคยหูกับอย่างไหนมากกว่ากัน??ถ้าให้เดา ขอทายว่าต้องเป็น "โฟม" แน่ ๆ เลย เพราะหลังจากหมดยุครุ่งเรืองของใบตองในสมัยก่อนนู้นนนนน.....รอบ ๆ ตัวเราก็เต็มไปด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากโฟม หรือพลาสติกทั้งนั้น

ส่วน "บรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย" นี้เพิ่งผ่านการตัดสายสะดือมาไม่กี่ปีนี่เอง แม้จะมีคุณสมบัติใช้บรรจุอาหารได้เหมือนกัน แต่เรื่องคุณภาพ และ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แล้ว บรรจุภัณฑ์ชานอ้อยกินขาดโฟมกับพลาสติกชนิดไม่เห็นฝุ่นเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการผลิต หรือ กระบวนการย่อยสลาย

ผู้ให้กำเนิดนวัตกรรมสีเขียวนี้ คือ บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด ซึ่งได้เปิดตลาด บรรจุภัณฑ์จากชานอ้อยตรา "ไบโอ" ในต่างประเทศมากว่า 5 ปีแล้ว โดยมีสหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เป็นตลาดหลัก








โดย "ไบโอ" นี้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารหลากหลายประเภททั้งจาน ชาม ถ้วย แก้ว กล่องใส่อาหาร ถาดหลุม สามารถขึ้นรูปได้ตามที่ต้องการกว่า 70 แบบ ทำจากเยื่อกระดาษชานอ้อยธรรมชาติ ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล

มี กระบวนการผลิตที่เรียบง่าย และประหยัดพลังงานกว่า เนื่องจากใช้ไอน้ำแทนไฟฟ้า ซึ่งไม่ก่อให้เกิดของเสียจากกระบวนการผลิต ไม่ใช้คลอรีนในการฟอกสี(เทคโนโลยี ECF) ผลิตภัณฑ์จึงมีสีน้ำตาลอ่อนตามสีชานอ้อยธรรมชาติ แถมยังผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV จึงมั่นใจได้ว่าสะอาดและปลอดภัยต่อเราและโลกแน่นอน








ส่วนในแง่การใช้งานนั้น ไบโอสามารถใช้ใส่น้ำและอาหารตั้งแต่เย็นจัด -40˚C ไปจนถึงร้อนจัด 250˚C อีกทั้งยังทนน้ำร้อนและน้ำมันขณะตั้งไว้ภายนอกได้ 150 ˚C เอาเข้าเตาอบหรือเตาไมโครเวฟได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และเก็บได้นาน 10 ปี

ส่วนที่เจ๋งสุด ๆ ไปเลยก็คือบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อยทั้งหมดนั้นผ่านการทดสอบด้านการย่อยสลายจากทาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(MTEC) แล้วว่า สามารถย่อยสลายได้หมดเกลี้ยงภายใน 45 วัน หลังจากฝังกลบในดิน และเพียง 31 วันเท่านั้น หากฝังกลบพร้อมกับเศษอาหารที่เหลือติดอยู่ แตกต่างจากพวกพลาสติกหรือโฟมที่ใช้เวลาย่อยตั้งประมาณ 1,000 ปี








ซึ่่งแต่ละปีนั้นพบว่าคนไทยใช้ภาชนะโฟมถึง 2 หมื่นล้านชิ้นเลยทีเดียว และจากรายงานในปี 2547 ระบุว่าเมืองไทยมีขยะจากพลาสติกและโฟมรวมกันถึง 2.6 ล้านตันต่อปี โดยมาจากในกรุงเทพฯและปริมณฑลวันละ 1.3 แสนตัน เลยทีเดียว

น่าคิดนะว่าทำไมผลิตภัณฑ์ดี ๆ แบบนี้ถึงยังไม่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะราคาที่แพงกว่าโฟม 2 เท่า โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 2-5 บาท ต่อใบ ขึ้นอยู่กับขนาด แต่ก็นั่นแหละนะมันคงเป็นไปตามดีมานด์ซัพพลายนั่นแหละ เมื่อคนใช้น้อย สินค้าก็ผลิตน้อย ต้นทุนต่อชิ้นเลยสูง ลองดูสิ ไว้เราหันมาใช้กันเยอะ ๆ เมื่อไหร่ ราคาน่าจะถูกลงแน่ ๆ (อ้อ ลืมบอกไป แต่ไบโอราคาถูกกว่าพวกพลาสติกใช้แล้วทิ้งประมาณ 20% นะ)

เรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้นี่เป็นที่นิยมในหลาย ๆ ประเทศมาก่อนหน้านี้แล้ว
ไม่ว่าจะเป็น แอฟริกาใต้ ที่ออกกฎหมายห้ามผลิต จำหน่าย และใช้ถุงพลาสติกชนิดบางตั้งแต่ปี 2002
ปี 2005 ไต้หวันประกาศงดใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
ปี 2007 นครซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ ประกาศห้ามใช้กล่องโฟม และถุงก๊อบแก๊บ
ในปีหน้าประเทศแคนาดาจะปลอดโฟม
ด้านฝรั่งเศสก็ไม่น้อยหน้า ประกาศมาตั้งแต่ปี 2005 แล้วว่าในปี 2010 ประเทศเขาจะปราศจากกล่องโฟมและถุงพลาสติกเช่นกัน

ส่วน ในสยามประเทศของเรานั้น แม้จะยังไม่มีมาตรการเข้มข้น แต่ก็มีบางองค์กรที่สนับสนุนให้นำบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้มาใช้แล้ว เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อยตรา ไบโอ ผลิตออกสู่ตลาด 200 ล้านชิ้นต่อปี โดยส่งออกต่างประเทศ 70% ส่วนอีก 30% เป็นตลาดภายในประเทศ




ในอนาคตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมนี้อาจพัฒนาไปสู่การใช้ ต้นข้าว ข้าวโพด หรือ ผักตบชวา เป็นวัตถุดิบก็ได้
ทีนี้ก็จะหมดเวลาของยุคโฟมกับพลาสติกบ้างแล้วหละ!!